ผู้ติดตาม

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ป้ายเตือนทางรังสี



วัสดุกัมมันตรังสีจัดเป็นวัตถุอันตรายประเภทหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากวัสดุประเภทสารเคมีหรือวัสดุอันตรายประเภทอื่นคือไม่มีสี ไม่มีกลิ่น จึงไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตา การตรวจสอบจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะในการตรวจสอบ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีสัญลักษณ์หรือป้ายเตือนติดไว้ที่ตัววัสดุกัมมันตรังสีหรือบริเวณที่มีการใช้งานวัสดุกัมมันตรังสี เพื่อป้องกันอันตรายทีเกิดขึ้นกับประชาชน โดยทั่วไปเราสามารถจำแนกป้ายเตือนทางรังสีตามลักษณะการใช้งานออกเป็น



  • ป้ายเตือนที่ติดอยู่กับวัสดุกัมมันตรังสี

    ป้ายเตือนดังกล่าวจะเป็นป้ายที่ติดอยู่กับวัสดุกัมมันตรังสีหรือเครื่องกำบังรังสีที่ใช้ป้องกันอันตรายจากรังสี ส่วนใหญ่จะมีคำเตือนว่า โปรดระวัง วัสดุกัมมันตรังสี เป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาท้องถิ่นตามประเทศที่ผลิตวัสดุดังกล่าว โดยระบุชนิดของวัสดุกัมมันตรังสี ความแรงหรือปริมาณของวัสดุกัมมันตรังสีและปีที่ทำการผลิตหรือทำการปรับเทียบความแรงของวัสดุกัมมันตรังสี

  • ป้ายเตือนบริเวณที่มีการใช้งานวัสดุกัมมันตรังสีและห้องปฏิบัตการทางรังสี

    ป้ายเตือนดังกล่าวเป็นป้ายเตือนให้ผู้ที่ปฏิบัติงานทราบว่าบริเวณดังกล่าวมีการใช้งานวัสดุกัมมันตรังสีหรือเครื่องกำเนิดรังสี หรือมีระดับรังสีสูงกว่าค่าในธรรมชาติ หรือเป็นสถานที่จัดเก็บวัสดุกัมมันตรังสีโดยขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ปกติบริเวณดังกล่าวจะมีคำเตือนห้ามมิให้ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปในบริเวณฯ ที่กำหนด หรือต้องปฏิบัติตัวตามข้อกำหนดต่างๆ เป็นพิเศษ

  • ป้ายขนส่งวัสดุกัมมันตรังสี

    โดยปกติการขนส่งวัสดุกัมมันตรังสีจะต้องทำการขนส่งในหีบห่อที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลและสอดคล่องกับกฎระเบียบของทบวงการปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) โดยหีบห่อทุกชนิด (ยกเว้นแบบ Excepted) จะต้องติดป้ายเตือนอย่างน้อยสองด้านของหีบห่อและต้องบอกอัตราระดับรังสีที่พื้นผิวและที่ระยะ 1 เมตร

  • ตัวเลขที่ระบุในช่องว่างดังกล่าวคือระดับรังสีที่ระยะ 1 เมตร โดยจะแบ่งเป็น

    • I-WHITE ระดับรังสีที่ระยะสัมผัสน้อยกว่า 0.005 mSv/h ระดับรังสีที่ระยะ 1 เมตรน้อยกว่า 0.1 mR/h
    • II-YELLOW ระดับรังสีที่ระยะสัมผัสมากกว่า 0.005 mSv/h แต่น้อยกว่า 0.5 mSv/h และระดับรังสีที่ระยะ 1 เมตรอยู่ระหว่าง 0.1-1.0 mR/h
    • III-YELLOW ระดับรังสีที่ระยะสัมผัสมาากว่า 0.5 mSv/h แต่น้อยกว่า 2 mSv/h แต่น้อยกว่า 0.5 mSv/h และระดับรังสีที่ระยะ 1 เมตรอยู่ระหว่าง 1.0-10.0 mR/h
    • III-YELLOWb ระดับรังสีที่ระยะสัมผัสมากกว่า 2 mSv/h แต่น้อยกว่า 10 mSv/h และระดับรังสีที่ระยะ 10 เมตรมากกว่า 10 mR/h
    หมายเหตุ การขนส่งวัสดุกัมมันตรังสีระดับ III-YELLOWb ต้องได้รับการดูแลเป็นกรณีพิเศษตามระเบียบของหน่วยงานกำกับดูแลความปลอดภัยทางรังสี
ป้ายเตือนทางรังสีแบบใหม่



จากปัญหาการสื่อความหมายของป้ายเตือนวัสดุกัมมันตรังสีที่เป็นสัญลักษณ์ใบพัดสามแฉก ซึ่งมีความหมายไม่ชัดเจนและรับรู้เฉพาะบุคคลที่มีการศึกษาหรือมีการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับรังสีเท่านั้น ทบวงการปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ร่วมกับองค์กรมาตรฐานสากลระหว่างประเทศ the International Organization for Standardization (ISO) จึงนำเสนอสัญลักษณ์ใหม่ในการเตือนอันตรายจากรังสีโดยเป็นสัญลักษณ์ การแผ่รังสี หัวกะโหลกไขว้ และคนวิ่งหนี เพื่อให้เกิดการยอมรับในระดับสากลแทนสัญลักษณ์ใบพัดสามแฉก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดอัตราการตายและลดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางรังสีจากวัสดุกัมมันตรังสีความแรงสูง คาดว่าจะนำมาใช้กับวัสดุกัมมันตรังสีในกลุ่มที่ 1, 2 และ 3 ได้แก่ เครื่องฉายรังสี (irradiators) เครื่องรังสีรักษา (teletherapy machines) และเครื่องถ่ายภาพด้วยรังสี (industrial radiography units) โดยติดไว้กับตัวภาชนะบรรจุวัสดุกัมมันตรังสีหรือบริเวณใกล้เคียง โดยสัญลักษณ์ดังกล่าวจะเป็นป้ายติดเพิ่มเติมจากป้ายเตือนทางรังสีแบบเดิม


ที่มาข้อมูล : http://www.oaep.go.th
http://www.myradiationsign.com/

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น