Categories
- ความรู้ (42)
- เทคโน (19)
- ปรากฎการณ์ธรรมชาติ (20)
- วันนี้ในอดีต (58)
- วิทยาศาสตร์ (19)
- สิ่งมหัศจรรย์ของโลก (1)
- ห้องทดลอง (1)
- อวกาศ (5)
- UFO (1)
ผู้ติดตาม
About Me
- Gang of 4wd
วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553
"มุ้งนาโน" ฆ่ายุงตายภายใน 6 นาที
18:37 |
เขียนโดย
Gang of 4wd |
แก้ไขบทความ
ภาพเส้นใยสำหรับทอมุ้งที่ผสมสารฆ่ายุง ซึ่งมียุงตายอยู่หลายตัว |
"นาโนเทค" พัฒนามุ้งผสมสารสกัดเลียนแบบ "เก๊กฮวย-ดาวเรือง" ฆ่ายุงตายจากเส้นใยภายใน 6 นาที ทำได้ทั้งแบบเคลือบและผสมลงในเส้นใย ระบุไม่เป็นอันตรายต่อคน เพราะมีตัวรับสารต่างกันจากแมลงและเป็นสารที่ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก
ศ.นพ.สิริฤกษ์ ผอ.นาโนเทค (กลางซ้าย) และ ดร.วีระชัย รมต.วิทย์ (กลางขวา) สาธิตมุ้งนาโนผสมสารฆ่ายุง |
ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) พร้อม ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมเปิดตัว "มุ้งนาโนฆ่า่ยุง" ที่ผสมสาร "เดลตาเมธริน" (Deltamethrin) สารสังเคราะห์เลียนแบบสารในกลุ่ม "ไพเรธรอยด์" (Pyretroid) สารสกัดธรรมชาติจากดอกดาวเรืองและเก๊กฮวย ซึ่งเป็นสารที่ได้รับการแนะนำให้ใช้จากองค์การอนามัยโลก (WHO)
เมื่อตัวรับ (Receptor) ที่ปลายขาของยุง ได้รับสารดังกล่าวจากการชนหรือสัมผัสกับมุ้งที่ผสมสารดังกล่าว จะทำให้ยุงบินช้าลงและตายในที่สุด ทั้งนี้ ยุงแต่ละชนิดมีความไวต่อสารสังเคราะห์ชนิดนี้ได้ต่างกัน โดยยุงรำคาญและยุงก้นปล่องจะไวต่อสารชนิดนี้มากที่สุด โดยจะตายภายใน 6 นาทีหลังจากได้รับสาร แต่คนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมไม่มีตัวรับสารดังกล่าวจึงไม่ได้รับอันตรายเช่นเดียวกับยุง
ในกระบวนการผลิตนั้นแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ เคลือบสารเดลตาเมธรินลงบนเส้นใยสำหรับมุ้งที่ผลิตขึ้นจากเส้นใยธรรมชาติหรือเส้นใยฝ้าย และผสมสารชนิดนี้ลงในเม็ดพลาสติกเพื่อขึ้นรูปเป็นเส้นใย ซึ่งในวิธีการหลังนั้นทำให้เก็บสารที่ผลต่อการฆ่ายุงได้นานกว่าการนำมุ้งไปชุบ 5 เท่า
ด้าน ดร.ศิระศักดิ์ เทพาคำ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีและพัฒนาธุรกิจ นาโนเทค อธิบายว่า จำเป็นต้องใช้สารสังเคราะห์เลียนแบบสารสกัดจากดาวเรือง เนื่องจากสารสกัดจากธรรมชาติจะสลายตัวเมื่อผ่านความร้อน ทั้งนี้หากใช้สารที่คั้นจากดอกดาวเรืองหรือดอกเก๊กฮวยไปฆ่ายุงจะทำให้ยุงตายได้เช่นกัน
พร้อมกันนี้ ดร.วีระชัยกล่าวว่า เทคโนโลยีนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของไทยซึ่งส่งออกมุ้งเป็นอันดับต้นๆ และยังประยุกต์ใช้กับเสื้อผ้าเพื่อสนับสนุนการส่งออกสิ่งทอ หรือส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยผลิตชุดกันยุงสำหรับนักท่องเที่ยว รวมถึงผลิตเครื่องนุ่งห่มกันยุงให้แก่ตำรวจและทหารในจังหวัดชายแดนได้
ยุงที่นำไปใส่ไว้ในเส้นใยมุ้งที่มีผสมสารฆ่ายุง ทยอยตายหลายตัว |
อย่างไรก็ดี นวัตกรรมเส้นใยมุ้งที่ผสมสารนาโนนี้ เพิ่งประสบความสำเร็จในระดับห้องปฎิบัติการ ยังต้องศึกษาเพิ่มเติมหากจะพัฒนาให้มีการผลิตจำนวนมาก ในอุตสาหกรรมหรือเชิงพาณิชย์ต่อไป.
แหล่งที่มา http://manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000118566
ป้ายกำกับ:
เทคโน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น