Categories
- ความรู้ (42)
- เทคโน (19)
- ปรากฎการณ์ธรรมชาติ (20)
- วันนี้ในอดีต (58)
- วิทยาศาสตร์ (19)
- สิ่งมหัศจรรย์ของโลก (1)
- ห้องทดลอง (1)
- อวกาศ (5)
- UFO (1)
ผู้ติดตาม
About Me
- Gang of 4wd
วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ตะลึง!โซลาร์เซลล์ชนิด "หมึก"
06:22 |
เขียนโดย
Gang of 4wd |
แก้ไขบทความ
อีก ไม่นานนี้ เราจะได้เห็นโซลาร์เซลล์ผลิตขึ้นด้วยต้นทุนที่ต่ำลงโดยใช้ "หมึก" ระดับอนุภาคนาโน ที่ทำให้สามารถพิมพ์แผ่นโซลาร์เซลล์ได้เช่นเดียวกับพิมพ์หนังสือพิมพ์ หรือนำไปพ่นที่หลังคาเพื่อสร้างกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้
เบรน คอร์เกล วิศวกรเคมีแห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัส ที่ออสติน พยายามค้นพบวิธีการใหม่ในการผลิตโซลาร์เซลล์เพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยหวังว่าวิธีการที่เขาคิดขึ้นมานี้นั้นจะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงเหนือ 1 ใน 10 เท่านั้น
ซึ่งขั้นตอนการผลิตแบบดังเดิมนั้นใช้วิธีถมแก๊สโซลาร์เซลล์จากถังสุญญากาศที่มีอุณหภูมิสูง จึงทำให้ค่าใช้จ่ายสูงเป็นเงาตามตัวด้วย
"ตอน นี้เราจำเป็นต้องคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆทางโซลาร์เซลล์เพื่อให้รับแสงให้ได้ มากๆ ซึ่งแสงอาทิตย์นั้นเป็นแหล่งพลังงานที่แทบจะไม่มีจำกัดอยู่แล้ว แต่เทคโนโลยีการดึงเอาพลังงานมาใช้ที่มีอยู่นั้นยังค่อนข้างมีค่าใช้จ่ายสูง จึงไม่สามารถแข่งกับพลังงานจากแหล่งเชื้อเพลิงได้" คอร์เกลเกริ่นนำ
เป็นระยะเวลากว่า 2 ปีแล้วที่คอร์เกลและทีมงานของเขาได้พยายามคิดค้นวัสดุระดับนาโนเพื่อใช้ทำโซ ลาร์เซลล์ที่มีต้นทุนต่ำ จนสามารถคิดค้น "หมึก" ที่สามารถพิมพ์ออกมาด้วยกระบวนการ roll-to-roll แบบ เดียวกับที่พิมพ์พลาสติกหรือเหล็กกล้าไร้สนิม ทั้งนี้ หมึกดังกล่าวสามารถที่จะนำไปพ่นใส่หลังคาหรือผนังอาคารได้อีกด้วย ซึ่งอีกไม่นานก็คงได้เห็นกัน
"คุณต้องพ่นวัสดุดูดซับแสงนี้และชั้นอื่นๆลงไป นี่คือขั้นตอนหนึ่งในการใช้งานโซลาร์เซลล์ชนิดพ่นนี้" คอร์เกลอธิบายการสาธิต
คอร์เกลนั้นใช้วัสดุระดับนาโนที่มีคุณสมบัติในการดูดซับแสงที่บางกว่าเส้นผมราวๆ 10,000 เท่า เนื่องจากขนาดที่เล็กนี้มีคุณสมบัติใหม่ทางกายภาพที่สามารถช่วยให้อุปกรณ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในปี 2002 นั้น คอร์เกลได้ร่วมตั้งบริษัทที่มีชื่อว่า Innovalight ที่ มีฐานที่ตั้งอยู่ในแคลิฟอร์เนีย เป็นบริษัทที่ผลิตหมึกโซลาเซลล์โดยใช้ซิลิกอนเป็นวัตถุดิบหลัก ในครั้งนี้ คอร์เกลและทีมงานของเขาได้ใช้ทองแดง อินเดียม แกลเลียม เซเลไนด์ หรือ CIGS ซึ่งทั้งถูกกว่าและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต
"CIGS มีข้อดีกว่าซิลิกอนหลายอย่างเลย มันเป็นสารกึ่งตัวนำชนิด direct band gap ซึ่งหมายความว่า จะใช้วัตถุดิบในการผลิตน้อยลงมาเยอะเลย และก็เป็นหนึ่งในข้อได้เปรียบที่สุดของนวัตกรรมใหม่นี้"
อย่างไรก็ตาม ทีมงานของเขาสามารถพัฒนาต้นแบบโซลาร์เซลล์ที่มีประสิทธิภาพการดูดซับแสงได้แค่ 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ทั้งที่ตามปกติแล้ว ควรจะอยู่ที่ระดับ 10 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป
"ถ้าเราทำ 10 เปอร์เซ็นต์ได้ ก็น่าจะนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ ถ้ามันได้ผลนะ คุณก็คงจะได้เห็นมันถูกใช้โดยทั่วไปในอีกซัก 3-5 ปีนี้แหละ" คอร์เกลทิ้งท้าย
ป้ายกำกับ:
เทคโน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น